เมื่อเราฝึกมาได้สักพักด้วยความอยากอย่างสม่ำเสมอแล้ว ก็อาจจะมีบางช่วง บางเวลา บางครั้ง บางคราว ที่ระดับความอยากของเราอาจจะค่อยๆลดๆลงไป ระดับความมุ่งมั่นของเราอาจจะค่อยๆแผ่วๆลงไป ดังนั้นเราจึงต้องสร้างเครื่องมือนี้ให้กับตัวเราเอง ซึ่งเครื่องมือที่ลองสร้างมาใช้และช่วยให้ตั้งใจฝึกฝนไปได้อย่างราบรื่นก็คือ 1) สร้างสรรค์บรรยากาศ ~ atmosphere และ 2) สร้างเสริมกำลังใจ ~ motivation


~ การสร้างสภาพแวดล้อม ให้เอื้อต่อการฝึกฝนทักษะของเรานั้น มีส่วนช่วยยืดอายุการทำงานของความอยาก และความมุ่งมั่นในตัวเราไปได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว และแม้ว่าเราจะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ใดๆได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยที่สุด เราก็ควรจะสนับสนุนการฝึกของเราให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในช่วงเวลาที่เรากำหนดไว้ให้เป็นช่วงเวลาของการฝึกฝน … อาจเป็นความโชคดีส่วนตัวอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนไม่ติดละครไทย (ขออภัยหากขัดหูขัดใจใครในที่นี้ (-/\-) … ^^!) อีกทั้งไม่สันถัดในการ shopping หรือ dining out ในที่ใดๆ จึงเท่ากับมีช่วงเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน และหลายวันต่อสัปดาห์ ที่จะสรรหากิจกรรมสนุกๆ หรือหัวข้อที่น่าสนใจมาให้ตัวเองได้ฝึก …


เริ่มต้นด้วยการเลือกเพลงภาษาอังกฤษมาเปิดเบาๆ เคล้าไปกับการทำกิจกรรมส่วนตัวกันตั้งแต่เดินเข้าห้อง … แต่หากใครอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ กรณีนี้อาจต้องบอกเล่าเก้าสิบให้ใครๆในบ้านได้รับทราบถึงความตั้งใจจริงของเราก่อน แต่เราก็ไม่ทำเสียงดังรบกวนใคร อาจใส่หูฟังเบาๆของเราไป หรือก็อาจชวนสมาชิกมาร่วมด้วยช่วยกันฝึก ก็จะเป็นการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้กับบ้านไปด้วยในตัว หรือบางวัน หากสะดวก โดยเฉพาะในวันหยุด ก็อาจเปลี่ยนไปนั่งฟังนั่งอ่านในสวนสาธารณะบ้าง ซึ่งบางทีก็อาจจะมีชาวต่างชาติใจดีผ่านมาให้เราได้ลองฝึกสนทนาในเวลาสบายๆ ที่ไม่ต้องเร่งรีบอย่างในที่ทำงานหรือในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆก็เป็นได้


มี 2 แนวทางหลักๆ ที่พิสูจน์ทดลองมากับตัวเอง ก็คือ 1) หาข้อดี ~ advantages และ 2) หาแรงบันดาลใจ ~ inspirations


~ ข้อดีของการสื่อสารภาษาอังกฤษในยุคปัจจุบันนั้น เราคงไม่ต้องสาธยายกันให้มากความในที่นี้ เพราะทุกคนก็คงบอกกับตัวเองได้เป็นหลายสิบข้อว่าดีอย่างไร และมีผลกับโอกาสทางความก้าวหน้าอย่างไร ทั้งกับการดำเนินชีวิตประจำวันเพื่อหาข้อมูลใหม่ๆที่เราสนใจเกี่ยวกับงานอดิเรก การเดินทางท่องเที่ยว หรือการรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั้งกับการเรียนเพื่อค้นคว้าตำราและงานวิจัยต่างๆ และทั้งกับการงานเพื่อการติดต่อประสานงาน การให้ข้อมูล การจัดทำรายงาน


~ กำลังใจ เป็นสิ่งที่แต่ละคนต้องสร้างขึ้นมาเอง เพราะแม้ว่าทุกคนในโลกจะพร่ำบอกว่าเป็นกำลังใจให้ แต่ถ้าเราไม่รับเอากำลังเหล่านั้นเข้ามาตั้งไว้ในใจแล้ว ใจเราจะมีกำลังได้อย่างไร … การฝึกออกกำลังให้กับใจเราเอง ก็คือการไม่ยอมตามใจ แต่ยอมฝืนใจ หลักการง่ายๆ คล้ายๆกันกับการยกน้ำหนัก คือการฝืนแรงโน้มถ่วงของโลก เพื่อสร้างกำลังให้กับกล้ามเนื้อ ด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายไปมา แต่กับใจ คือการฝึกให้เค้าคุ้นเคยกับความนิ่ง อยู่กับสิ่งที่มีตรงหน้า ไม่ให้เขาได้วิ่งไปมาอย่างเคย ใหม่ๆอาจจะสัก 5 นาที 10 นาทีก่อน เช่น เราเคยไป window shopping หลังเลิกงานมานานวัน จนติดใจ พอจะเปลี่ยนใหม่ให้เขาหันมาสนใจใฝ่เรียน ก็ย่อมจะมีเผลอไผลคิดแว็บไปแว็บมาเป็นธรรมดา ตรงจุดนี้การย้อนกลับไปพิจารณาถึงข้อดีของสิ่งที่เรากำลังทำอยู่สามารถช่วยได้ ประกอบกับบรรยากาศใหม่ๆที่เราสร้างสรรค์ให้ตัวเองก็มีส่วนช่วยเช่นกัน …


นอกจากนี้ การหาเพื่อนร่วมทาง ผู้ที่มีอุดมการณ์เหล่านี้เหมือนกัน ก็เป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถช่วยให้ต่างคนต่างไม่เถลไถลไปไกลจากเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ … Enjoy your practice . . . (‘_^)

Step 3: ตั้งใจ (Intention)

แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันเสาร์, 25 สิงหาคม 2018, 2:02AM