เนื่องจากการฝึกฝนเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของเรานั้น เป็นชนิดที่ฝึกไป ใช้ไป ฉะนั้นระยะเวลาที่จะเห็นผลของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป ซึ่งขั้นตอนนี้ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยยกระดับการฝึกฝนภาษาอังกฤษของเราให้อยู่ในระดับที่พร้อมใช้งานได้จริง และสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างว่องไวในแทบทุกสถานการณ์ นั่นก็คือ 1) การประเมินตนเอง ~ evaluation และ 2) การประลองตนเอง ~ challenging


~ ตนเองย่อมเป็นเครื่องมือสำหรับการวัดประเมินตนเองที่เที่ยงตรงที่สุด แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นตนเองที่เที่ยงตรงต่อหลักความเป็นจริงด้วย มิใช่ตนเองที่เข้าข้างตัวเอง … ซึ่งเราสามารถทำได้ทั้งแบบวันต่อวัน สัปดาห์ต่อสัปดาห์ หรือเป็นรายเดือนไป ขึ้นอยู่เป้าหมายที่วางไว้ให้กับตัวเองตั้งแต่แรก เป็นต้นว่า เราทราบอยู่แล้วว่าเราทำงานสายไหน ต้องใช้ภาษาอังกฤษมากน้อยเพียงใด และกรอบของคำหรือประโยคต่างๆ ต้องเป็นไปในแนวทางไหน … แล้วจึงเลือกเนื้อหามาให้ตัวเราได้ฝึกฝนไปตามนั้น และเมื่อถึงเวลาที่ที่ต้องใช้จริง เราสามารถสื่อสารได้หรือไม่ มีความถูกต้องและเหมาะสมมากน้อยเพียงใด หรือต้องปรับปรุงในจุดไหนบ้าง …


ทั้งหมดทั้งมวลนี้ต้องอาศัยตนเองที่ช่าง “สังเกต” และนำกลับมา “พิจารณา” เพื่อปรับเปลี่ยนเนื้อหา วิธีการฝึก หรือวิธีการจดจำของเรา ให้เข้ากับลักษณะนินัยในการเรียนรู้ของเรา และให้ทันกับสถานการณ์ที่ต้องใช้งานจริงยิ่งๆขึ้นไป … มิเช่นนั้นแล้ว ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าพูดประโยคนั้นผิดอย่างไร สามเดือนผ่านไปก็ยังผิดอยู่อย่างนั้น นั่นย่อมไม่ถือเป็นการพัฒนาแน่ๆ


~ ความท้าทาย อาจก่อให้เกิดอาการประหม่า หรือหวั่นใจให้กับใครๆหลายคน แต่ในที่นี้ เราหมายถึงการทดสอบความสามารถของเราเอง ด้วยตัวเราเอง ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะช่วยลดความตื่นเต้นลงไปได้บ้าง เมื่อต้องเจอกับสถานการณ์จริง … ถ้าเราเคยสังเกต เราจะเห็นได้ว่านักกีฬาเกือบทุกประเภทจะสร้างสถานการณ์ในการฝึกซ้อมที่หลากหลายและล้วนแต่ยากๆ ท้าทายความสามารถทั้งสิ้น เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมรับกับทุกสภาพในสนามจริง … สำหรับการฝึกฝนทักษะภาษาอังกฤษของเรา ก็อาจทำได้โดยการทดสอบตนเองด้วยกิจกรรมที่เราทำขึ้นมาเอง …


ตัวอย่างเช่น … เขียนหรือพิมพ์บทสนทนามาสักบทหนึ่ง ซึ่งมีประมาณ 6-8 ประโยค ที่มีบุคคล 2 คนสนทนากัน แล้วตัดบทสนทนานั้นแยกออกจากกันทีละประโยค แยกกลุ่มประโยคของ A และกลุ่มประโยคของ B ไว้เป็นคนละกลุ่ม … นำกลุ่มประโยคของ A มาวางคว่ำหน้ากระดาษด้านที่มีข้อความลง ไม่ให้ตัวเองได้เห็น แล้วลองโต้ตอบกับประโยคที่เราเปิดขึ้นมาดู ว่าถ้า A พูดประโยคที่เราเปิดได้นี้มา แล้ว B ซึ่งในที่นี่คือตัวเราเองควรจะตอบว่าอย่างไร … พยายามเปลี่ยนเรื่องราวไปเรื่อยๆ ทั้งเพื่อให้เราเองได้คำศัพท์และตัวอย่างประโยคที่เป็นประโยชน์ ทั้งเพื่อให้ตัวเราเองรู้สึกว่าเราค่อยๆทำได้ในระดับที่ยากขึ้น และสุดท้ายเพื่อความก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไปในการฝึกฝนและในการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาอังกฤษของเรา … Enjoy your practice … (‘_^)

Step 4: ไตร่ตรอง (Investigate)

Last modified: Saturday, 25 August 2018, 2:06 AM